[metaslider id="42"]

dumbbell Fixed Weight

Read More

dumbbell Adjustable

Read More

dumbbell Selectorizrd

Read More

ไทเก็กประโยชน์มากกว่าที่คิด

การออกกำลังกาย โดย ใช้เครื่อง หรือ ไม่ใช้เครื่อง การวิ่ง และปัจจุบัน มีกระบวนการหรือวิธีการออกกำลังกายมากมาย แต่ขณะนี้คนอยากออกกำลังกาย ค้นหาวิธีออกกำลังกายจากอินเตอร์เน็ตมากๆ แต่ การออกกำลัง อย่างไทเก๊ก เป็นอะไรที่จะมองกันว่า เป็นวิธีการของคนสูงอายุ แต่เมื่อเราได้รู้ประโยนช์ของไทเก๊ก แล้วเราอาจจะอยากออกเลยก็ได้

ลักษณะเด่นของไทเก็กคือการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ นุ่มนวล ต่อเนื่อง และไม่ทำให้เหนื่อยหอบเหมือนกิจกรรมหรือการออกกำลังกายรูปแบบอื่น ซึ่งการฝึกไทเก็กอย่างถูกต้องและเป็นประจำ อาจส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกายในหลาย ๆ ด้าน เช่น

  • เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทั้งกล้ามเนื้อส่วนบน กล้ามเนื้อส่วนล่าง กล้ามเนื้อแกนกลางของหน้าท้องและแผ่นหลัง รวมถึงเพิ่มความยืดหยุ่นและความคล่องตัวให้แก่ผู้ที่ฝึกไทเก็กเป็นประจำ
  • พัฒนาการทรงตัว การฝึกไทเก็กอาจช่วยพัฒนาการรับรู้ตำแหน่งและการเคลื่อนไหวของร่างกาย (Proprioception) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซลล์ประสาทของหูชั้นในและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น และช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุอาจหกล้มได้ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาบางชิ้นได้แนะนำว่าการฝึกไทเก็กอาจช่วยลดความกลัวที่จะหกล้มได้อีกด้วย
  • ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย เช่น เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บรรเทาอาการปวดข้อ อาการปวดหลัง ลดความดันโลหิต ส่งผลดีต่อสุขภาพของหัวใจ เป็นต้น
  • ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจ เช่น ช่วยเพิ่มสมาธิ ผ่อนคลายความเครียด พัฒนาอารมณ์ ช่วยให้หลับสบายหรือนอนหลับได้ง่ายขึ้น เป็นต้น

การเริ่มต้นฝึกไทเก็ก

ไทเก็กเป็นกิจกรรมที่ปลอดภัย ใช้อุปกรณ์ประกอบการทำกิจกรรมน้อย หรืออาจไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ และสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา เริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

  • ศึกษาข้อมูลหรือฝึกฝนท่าของไทเก็กเบื้องต้น ว่ามีการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบไหน และอย่างไรบ้าง อาจมีทั้งการเคลื่อนไหวช้า ๆ เพียงเล็กน้อยซึ่งเหมาะสำหรับมือใหม่ หรืออาจมีการเคลื่อนไหวที่ใช้ทุกส่วนของร่างกาย และในปัจจุบันอาจยังไม่มีมาตรฐานหรือการรับรองสำหรับครูฝึกไทเก็ก จึงจำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลและตัดสินใจด้วยตนเอง อาจพิจารณาจากประสบการณ์ของครูฝึก สังเกตการณ์จากสถานที่จริง หรือคำแนะนำของคนรอบข้างประกอบการตัดสินใจ
  • ปรึกษาแพทย์ หากสงสัยว่ามีปัญหาเกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูกหรือเงื่อนไขอื่น ๆ ทางสุขภาพ รวมถึงการรับประทานยาที่ส่งผลให้มีอาการวิงเวียน ซึ่งอาจไม่เหมาะสำหรับการออกกำลังกายรูปแบบนี้
  • แต่งกายให้เหมาะสม เลือกชุดที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป จนไม่สามารถทำท่าทางต่าง ๆ ได้ สวมรองเท้าที่ใส่เบาสบาย ไม่ลื่น หรืออาจจะไม่สวมรองเท้าก็ได้
  • อุ่นเครื่องอบอุ่นร่างกาย อาจเริ่มด้วยการจดจ่อที่ลมหายใจไปพร้อมกับเคลื่อนไหวร่างกายอย่างช้า ๆ เช่น หมุนหัวไหล่ เอียงศีรษะจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง หรือโยกตัวไปมา เพื่อเป็นการผ่อนคลายกล้ามเนื้อและข้อต่อก่อนการออกกำลังกาย
  • ประเมินความก้าวหน้าของตัวเอง อาจใช้เวลากับไทเก็กสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง และประเมินความพึงพอใจของตัวเอง ความชอบในการออกกำลังกายรูปแบบนี้  หรือสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหรือทางจิตใจบ้างหรือไม่

บทความยอดนิยม